วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อึพวงองุ่น


อึพวงองุ่น และระบบย่อยอาหารของกระต่าย
           เรื่องของอึพวงองุ่น เป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงกันมาก แต่เท่าที่อ่านดูก็ยังขาดในสาระสำคัญบางประการอยู่บ้าง พ่อกระต่ายจึงขอเสนอเป็นบทความไม่ยาวนักแต่ก็น่าจะครอบคลุมสิ่งที่ควรรู้เพื่อตอบแทนความปรารถนาดีของพวกเราครับ

          การที่จะพูดถึงอึพวงองุ่นนั้น จำเป็นครับที่จะต้องพูดถึงระบบย่อยอาหารของกระต่ายควบคู่กันไป

          กระต่าย เป็นสัตว์ใน Family Leporidae ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีฟันหน้าบน 2 คู่ (ลองตรวจฟันน้องกระต่ายดูจะพบว่า มีฟันหน้าอีกคู่หนึ่งที่ซ่อนอยู่ด้านหลังของฟันหน้าบนที่เรามองเห็น) ส่วนฟันกัดด้านล่าง มี 1คู่หรือ 2 ซี่ครับ

           กระต่าย ใช้ฟันหน้าในการกัดแทะ และใฃ้ฟันกรามในการเคี้ยว ฟันกรามด้านบนของกระต่าย มีข้างละ 6 ซี่ครับ คือฟันกรามหน้าข้างละ 3 ซี่ ฟันกรามหลังข้างละ 3 ซี่ เหมือนกัน ดังนั้นฟันกรามด้านบนของกระต่ายจึงมี 12 ซี่

          แต่ฟันกรามล่างนี่แปลกหน่อย คือมีแค่ ข้างละ 5 ซี่ เป็นฟันกรามหน้า 2 ซี่ ฟันกรามหลังข้างละ 2 ซี่ รวมฟันกรามล่าง 2 ข้างเป็น 10 ซี่
          ในขณะที่กระต่ายกัดและเคี้ยวอาหารน้ำลายของกระต่าย จะคลุกเคล้ากับอาหารและน้ำย่อยในน้ำลายก็จะทำการย่อยอาหารไปบางส่วน

          จากนั้นอาหารที่ถูกบดละเอียดจะผ่านหลอดหรือท่ออาหารเข้าสู่กระเพาะ ซึ่ง เป็นพื้นที่สำหรับ กระบวนการย่อยอาหารด้วยน้ำย่อย

           สารอาหารที่เกิดจากการย่อยด้วยน้ำย่อยที่กระเพาะ จะถูกส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กและผนังของลำไส้เล็กก็จะดูดซึมเอาอาหารที่ย่อยแล้วไปใช้งาน แต่ก็จะมีอาหารอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มไฟเบอร์เช่นหญ้าต่าง ๆ ที่น้ำย่อยในกระเพาะจัดการไม่ได้ ก็ไหลเลยต่อไป….ไปไหนเอ่ย...ลองตามมาแอบดูกัน





ภาพแสดงระบบการย่อยอาหารคร่าว ๆ ของกระต่ายภาพนี้ จาก www.nationalrabbitweek.co.uk/digestive ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
          จุดที่เป็นปลายสุดของสำไส้เล็ก จะมาพบกับทางแยกครับ ด้านหนึ่งเป็นอวัยวะส่วนที่ใช้ย่อยอาหารกลุ่มไฟเบอร์ ที่เราได้ยินกันคุ้นหู ว่า ซีคั่ม ตำราฝรั่งเขียนไว้ 2 แบบครับ คือ Cecum และ Caecum  แต่เมื่อลองสืบค้นดู คำว่า Caecum พบเยอะว่าครับ

          ใน Caecum นี้ เป็นที่พำนักพักอาศัยของกลุ่มจุลชีพที่ดี จำนวนมากมายมหาศาล ประกอบด้วย แบคทีเรีย โปรโตซัวและยีสต์ ใช้ชีวิตและร่วมกันทำงานอย่างสมดุลย์
พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า Caecum เป็นอวัยวะที่กระต่ายใช้หมักอาหารไว้ให้จุลชีพจัดการย่อยให้นั่นเอง

           ผลจากการทำงานของจุลชีพนี้ ก็จะได้วิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าต่อกระต่าย
เมื่อกระบวนการหมักได้ที่ (ใช้เวลาราว ๆ 8 ชั่วโมง) ร่างกายกระต่ายก็จะทะยอยผลักอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ของจุลชีพและกากใยที่เหลือจากการหมักและย่อย จาก Ceacum มาสู่สำไส้ใหญ่ สารอาหารหลายอย่าง จะถูกดูดซึมไปใช้งานผ่านผนังของลำไส้ใหญ่นี่เอง

           ส่วนเศษ ๆ ที่เป็นกากอาหารจริง ๆ ก็จะผ่านลำไส้ใหญ่มาสู่ลำไส้ตรง และตรงนี้เองที่กากอาหารจะถูกบีบเป็นจังหวะ ๆ จนเกิดเป็นอึก้อนกลม ๆ และอึธรรมดาก้อนกลม ๆ นี้จะผ่านหูรูดของทวารหนักหรือรูก้นน้องต่ายออกมาเป็นอึที่เราเห็น ๆ กันเป็นปกติ

          ย้อนกลับไปที่ลำไส้ใหญ่กันหน่อยนะครับ....ลำไส้ใหญ่ที่ผมเล่าว่าสารอาหารหลายอย่าง จะถูกดูดซึมไปใช้งานผ่านผนังของลำไส้ใหญ่นั่นละครับ...มันมีเรื่องพิลึกกึกกืออันเป็นที่มาของอึพวงองุ่น อยู่...น่าสนใจมากเลยละ
          เรื่องพิลึก พิกล ที่ว่านี้ก็คือ  ที่ผนังของลำไส้ใหญ่นี้ ไม่สามารถดูดซึมเอาสารอาหารบางชนิดและวิตามิน บี ไปใช้งานได้
          เอาละสิ สารอาหารและวิตามินนี่ มันของดี ๆ ทั้งนั้นนี่ครับ จะปล่อยทิ้งไปได้อย่างไรกัน

           ธรรมชาตินี่วิเศษจริง ๆ เลย ที่หาทางแก้ปัญหานี้จนได้ครับ โดยการส่งอาหารที่ผนังลำไส้ใหญ่ดูดซึมไม่ได้นั้น มาเป็นจังหวะ ๆพร้อมกับส่งสัญญาณมาให้ลำไส้ตรง ปั้นอึชุดนี้เป็นเม็ดเล็ก ๆ  จนอึวิเศษนี้ผนึกติดกันเป็นพวงแล้วจึงขับออกมาทางก้น แบบที่เราเรียกกันว่าอึพวงองุ่น (แต่ฝรั่งบางตำราเขาเรียกว่า อึพวงลูกหม่อน (mulberry) ครับ...ก็ว่ากันไป

อึพวงองุ่น (ขวา)เมื่อเทียบกับอึธรรมดา(ซ้าย)
          ในอึพวงองุ่น นี้ นอกจากจะมีสารอาหารดี ๆ และวิตามินจำนวนมากแล้ว ยังมีจุลชีพแสนดีที่แตกลูกแตกหลานอยู่ใน Caecum แทรกปนอยู่จำนวนมหาศาลอีกด้วย

          เมื่อกระต่ายปล่อย อึพวงองุ่นออกมา ปกติแล้วกระต่ายจะก้มลงกินอึพวงองุ่นจากก้นของตัวเองเลยเว้นแต่บางตัวอ้วนจนก้มไม่ลง ก็อาจอึออกมาที่พื้นแล้วค่อยกิน

           อึพวงองุ่นที่กระต่ายกินกลับเข้าไปก็จะเข้าสู่กระเพาะและเลยไปที่ลำไล้เล็ก.....ตรงนี้เองที่บรรดาอาหารดี ๆ และวิตามินที่สำไส้ใหญ่ดูดซึมไม่ได้ ก็จะซึมเข้าผนังลำไส้เล็กแทนครับ....เยี่ยมไหมล่ะ

แต่ยังมีที่วิเศษกว่านั้นอีกครับ....

          ในกระเพาะอาหารนั้น น้ำย่อยมีฤทธิในการกัดรุนแรงอยู่ จุลชีพที่แสนดีของกระต่ายในอึพวงองุ่น เมื่อกลับเข้าสู่กระเพาะ น่าจะตายหมด...แต่ธรรมชาติเขาหาทางป้องกันไว้เรียบร้อยแล้วครับ โดยการสร้างเมือกชนิดหนึ่งมาหุ้มเม็ดอึพวงองุ่นไว้ สารเมือกนี้ มีคุณสมบัติในการป้องกันการกัดทำลายของน้ำย่อยได้นานถึง 4 ชั่วโมง ซึ่งนานพอที่อึพวงองุ่นจะผ่านกระเพาะและลำไส้เล็กมาสู่ มาตุภูมิเดิม คือ Caecum ได้อย่างสบาย ๆ

          หากอาหารที่เราให้น้องต่าย มีปริมาณพอเหมาะ คืออาหารเม็ดพอควร หญ้าแห้งหญ้าสดและผักพอดี เราจะไม่เห็นอึพวงองุ่นเหลือหล่นอยู่ตามพื้นกรง หรือจะมีก็แค่ 1-2 พวง
หากคุณพบว่ากระต่ายของคุณผลิต อึพวงองุ่น จนเหลือใช้กองทิ้งเป็นจำนวนมาก ก็ขอให้ทราบเลยว่า คุณให้อาหารเม็ดมากเกินไปแล้ว เพลา ๆ ลงหน่อยก็จะดีครับ

          ความจริงมีเรื่องความมหัศจรรย์ของกระเพาะกระต่ายที่อยากจะเล่าอีกเรื่องหนึ่งด้วย แต่มีคนบ่นว่า ผมเขียนอะไรยาวเกินไป ขี้เกียจอ่าน .... งั้นเรื่องของอึพวงองุ่นก็ ผมจึงขอเสนอในส่วนที่ควรรู้แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอ

รายชื่อสัตวแพทย์ โรงพยาบาลสัตว์ และ คลินิก


รายชื่อสัตวแพทย์ โรงพยาบาลสัตว์ และ คลินิก
 
 
 


• โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เลขที่  39  ถนนอังรีดูนังต์   แขวงวังใหม่  เขตปทุมวัน   กรุงเทพฯ  10330
วันและเวลาทำการ :
จันทร์-ศุกร์ : เวลา 8.00 - 15.00 น.
เสาร์-อาทิตย์ และ วันหยุดราชการ : เวลา 9.00 - 11.00 น.
คลินิกฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง

เบอร์โทรศัพท์
0-2218-9750-1

Website:
http://www.vet.chula.ac.th/~sah/index.html


แผนที่ :
http://www.vet.chula.ac.th/~sah/map.html 




• ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ให้บริการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการเกิดโรคในสัตว์น้ำทุกชนิด
 รวมทั้งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน
ในวันราชการตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น.
• ให้บริการตรวจคุณภาพน้ำ ทั้งทางเคมีและฟิสิกส์
• ให้คำแนะนำในการใช้ยาและสารเคมี รวมทั้งวิธีป้องกันและควบคุมโรคของสัตว์น้ำ
• ให้บริการออกใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ
• ให้บริการเป็นที่พักรักษาสัตว์น้ำป่วย โดยเฉพาะสัตว์น้ำสวยงาม
• ให้บริการตรวจสัตว์น้ำนอกสถานที่โดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนน อังรีดูนังต์
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. (02) 252-9575, 218-9412
โทรสาร (02) 252-9575


• หน่วยชันสูตรโรคสัตว์  คณะสัตวแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น.สพ.รชฎ  ตันติเลิศเจริญ
เลขที่ 39  ถนนอังรีดูนังต์  แขวงวังใหม่  เขตปทุมวัน   กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02- 218 -9793
วันและเวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์  เวลา 8:30 - 17:00 น.
• หน่วยสัตว์เลี้ยงพิเศษ  โรงพยาบาลสัตว์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน
(บริเวณชั้นล่างของอาคารโรงพยาบาลสัตว์)
เลขที่ 50  ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

วันและเวลาทำการ :
วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี : เวลา 08.30 - 15.30 น.
เฉพาะวันศุกร์ : เวลา  08.30 - 11.00 น.

วันหยุดนักขัตฤกษ์
เช้า เวลา 8.30 - 11.00 น.

เบอร์โทรศัพท์
0-2942-8756-59  ต่อ  2118 (ในเวลาราชการ) 
ต่อ 2155  (นอกวันเวลาราชกา่ร)
ต่อ 2118  ประชาสัมพันธ์

Website :
http://hospital.vet.ku.ac.th


แผนที่ :
http://hospital.vet.ku.ac.th/index_files/Page354.htm




• หน่วยสัตว์น้ำ  โรงพยาบาลสัตว์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน
เลขที่ 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

เป็นหน่วยที่เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัย และรักษาปลา
ทางด้านอายุรกรรมและศัลยกรรม  รวมถึงการตรวจคุณภาพน้ำ

หน่วยสัตว์น้ำได้เตรียมขยายงานโดยจะรับฝากสัตว์ไว้ดูแลเป็นสัตว์ป่วยใน

วันและเวลาทำการ
จันทร์ - พฤหัสบดี : เวลา 08.30 - 15.30 น.
ศุกร์ เวลา  08.30 - 11.00 น.

เบอร์โทรศัพท์
0-2942-8756-59  ต่อ  2118 (ในเวลาราชการ) 
ต่อ 2155  (นอกวันเวลาราชกา่ร)
ต่อ 2118 ประชาสัมพันธ์

Website :
http://hospital.vet.ku.ac.th


แผนที่ :
http://hospital.vet.ku.ac.th/index_files/Page354.htm




•  หน่วยสัตว์ใหญ่และสัตว์ป่า โรงพยาบาลสัตว์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
•  วิทยาเขตกำแพงแสน  จ.นครปฐม 
เลขที่ 1 หมู่ 6  ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม  73140

วันและเวลาทำการ :
วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี
เวลา 08.30 - 16.30 น. และ 17.00 - 20.00 น.

วันศุกร์ เวลา  08.30 - 12.00 น. และ 17.00 - 20.00 น.

วันเสาร์ - อาทิตย์ และ วันหยุดราชการ
เวลา 09.00 - 14.00 น. และ 17.00 - 20.00 น.

เบอร์โทรศัพท์
034-351 901-3 ต่อ 201-2
โทรสาร   034-352041

แผนที่ : 
http://www.mormakaset.com/map.htm



•  โรงพยาบาลสัตว์  คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เลขที่ 123  ถนนมิตรภาพ  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น 40002
ภายในมหาวิทยาลัย  (ประตู ถนนมิตรภาพ)
วันและเวลาทำการ :
วันจันทร์ - ศุกร์ : เช้า 8.30-12.00 น.บ่าย 13.00-16.30 น.                              
 คลินิกนอกเวลา วันจันทร์ - ศุกร์ : เวลา 17.00-20.00 น.                                                                 
 วันเสาร์-อาทิตย์  : เช้า : เวลา  9.00-12.00 น.  
                             บ่าย  : เวลา  13.00-16.00 น.                               
 หยุด ทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์
เบอร์โทรศัพท์ 043- 364 490, โทรสาร  043- 343 081
Website :
http://vet.kku.ac.th/hospital/vethos.html


แผนที่ : 
http://vet.kku.ac.th/hospital/vh-map-huge.html



•  คลินิกสัตว์เลี้ยงพิเศษ  โรงพยาบาลสัตว์เล็ก   คณะสัตวแพทยศาสตร์      สถานบริการสุขภาพสัตว์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 ถนนริมคลองชลประทาน   ต.สุเทพ   อ.เมือง  จ.เชียงใหม่   50200

วันและเวลาทำการ :  วันพุธ  ทุกสัปดาห์

เบอร์โทรศัพท์ :
053-948 031, 948 033

Website : 
http://www.animalhealthvetmed.com



•  โรงพยาบาลสัตว์เล็ก  คณะสัตวแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
เลขที่ 51  ถนนเชื่อมสัมพันธ์  แขวงกระทุ่มราย  เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530

เบอร์โทรศัพท์
02-988 3655  02-988 3666  ต่อ  147, 148, 246, 247
โทรสาร: 02-388 3655 ต่อ  247

แผนที่ 
http://www.mut.ac.th/thai/location/index.html



• โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน   คณะสัตวแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยมหิดล   วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม
• โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตวป่า  คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล
• วิทยาเขตไทรโยค  จ.กาญจนบุรี  
เลขที่  25/25  หมู่ 5  ถนนพุทธมลฑล สาย 4                              
ตำบลศาลายา   อำเภอพุทธมลฑล  จังหวัดนครปฐม 73170

เบอร์โทรศัพท์
0-2441-5246

Website : 
http://www.vs.mahidol.ac.th/Hospital/hospitalthai.html



________________________________________


• กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล

โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ (หมอหมาป่าและอาณาจักรสัตว์) สัตวแพทย์ผู้ตรวจ:
หมอเฉพาะทางเอ็กโซติกและสัตว์ป่า:
        หมอแรนดอล์ฟ (หมอแก้ว) ลงตรวจเสาร์และอาทิตย์
        หมอรัก ตามนัดหมาย
          หมอเหนือ ลงตรวจทุกวัน เว้นวันเสาร์และอาทิตย์
        หมอเยลลี่ (ศัลยกรรมสัตว์แปลก) ลงตรวจทุกวัน เว้นวันพุธและพฤหัสบดี
        หมออ้น ลงตรวจทุกวัน เว้นวันศุกร์และเสาร์
          หมอสัตว์เล็ก สุนัขและแมว :  หมอเยลลี่ หมอแก้ว หมอบุ๊กบิ๊ก หมอเหนือ หมออ้น
เลขที่ 91/10 (ก่อนถึงห้าแยกวัชรพล ตรงข้ามร้านอาหารนาย ต. เนื้อตุ๋น)
ถนนวัชรพล (รามอินทรา 55)
ท่าแร้ง บางเขน
กรุงเทพ 10220
โทรศัพท์ 086-336-4462
โทรสาร   02-968-9166
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน เวลา 8.30 -24.00 น.

คลินิกนกและสัตว์ป่า
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : รศ.น.สพ.ปานเทพ  รัตนากร
ถนนศรีอยุธยา ซอย 3
อยู่ระหว่าง โรงพยาบาลพญาไทย 1 และ โรงพยาบาลเดชา
โทรศัพท์  02-245- 4946
วันและเวลาทำการ :   จันทร์ - ศุกร์     17.00- 19.00 น.
                             เสาร์ - อาทิตย์  10.00-16.00 น.

คลินิกรักษาสัตว์ด้วยใจ
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.จริยา (หมอฮั๊ว)
รักษาสัตว์ทุกชนิด
ตั้งอยู่ในร้านดี ด็อก หน้าหมู่บ้านวนาวิลล์
เพียง 700 เมตร จาก ถ.เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา

คลินิกสัตวแพทย์คลองสี่
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.สุภาภรณ์  อุทุมพร
เลขที่ 2/42-43 (เยื้องหมู่บ้านอยู่เจริญ 2)  ม.5 
ถ.รังสิต-นครนายก  ต.ลาดสวาย  อ.ลำลูกกา  จ.ปทุมธานี 12130
โทรศัพท์ : 083 - 994  8880
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน  เวลา 8:30- 20:30 น. 

โรงพยาบาลสัตว์ สุวรรณชาด (ในโครงการพัฒนาส่วนพระองค์)
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.วิศิษฎ์  อาศัยธรรมกุล
เลขที่ 33/39 หมู่ 3 ถนนรามคำแหง กรุงเทพ 10240
โทรศัพท์ 02-729 - 5706-7
โทรสาร   02-729 - 5709
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน เวลา 9.00 -21.00 น.

สัตวแพทย์  4 โพลีคลินิก (Vet4 Polyclinic)สัตวแพทย์ผู้ตรวจ :  น.สพ.เชาวพันธ์  ยินหาญมิ่งมงคล ,น.สพ.ทศพร อนันตกุลนธี
เลขที่ 5 - 5/1 ถนน เทศบาลรังสฤษดิ์เหนือ
ประชานิเวศน์ 1 จตุจักร กรุงเทพฯ  10900
โทรศัพท์  0-2953-8085-6, 0-2591-3995,0-2591-3995
โทรสาร    0-2954-3597
Website :  http://www.vet4polyclinic.com/contact_us.htm

คลินิกพายุรักษาสัตว์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.เกษตร สุเตชะ และ  น.สพ.พายุ ศรีสุพร
เลขที่ 1470 ซอยอินทามาระ 26 ถนนสุทธิสาร  เขตดินแดง  กรุงเทพฯ  10320
โทรศัพท์ 02-693- 7972
วันและเวลาทำการ : จันทร์-อาทิตย์  เวลา 10.00 - 21.00 น.

ซีคอน เพ็ท ปาร์ค ตอนนี้ทางซีคอน เพ็ท พาร์ค คลินิก ได้ทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง สถานที่ตั้ง
เพื่อการบริการให้ดียิ่งขึ้นซึ่งตอนนี้กำลังดำเนินการตกแต่งสถานที่ใหม่อยู่
แต่เพื่อเป็นการไม่ให้ผู้ใช้บริการสับสนและเตรียมตัวพบกันที่ใหม่
จึงมาส่งแผนที่ให้ดูกันก่อนเป็นออเดิฟจ๊ะ แต่ตอนนี้ยังคงเปิดให้บริการอยู่ที่เดิม
ทุกวันตั้งเเต่เวลา 10.00-20.00 น. ส่วนแผนที่มีให้ดูกันในหัวข้อ แผนที่ ได้เลยเจ้าคะ
 หากมีข้อสงสัยติดต่อได้ที่ 083 064 1980 เหมือนเดิม เเต่ไม่ 24 ชม.นะจ๊ะ

แผนที่
http://seaconpetclinic.makewebez.com/index.php?c_id=0&ct_id=1091&type=customize




ลาดพร้าว 9 สัตวแพทย์


สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.ณฐวุฒิ คณาติยานนท์ (หมอกอล์ฟ)
                        : สพ.ญ.นัจพร แจ่มจันท์ (หมอออย)
                        : น.สพ. เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล (หมออ้อย)
ติดถนนใหญ่ ปากซอยลาดพร้าว 9
ห่างจากคาร์ฟูลาดพร้าว 20 เมตร
(จอดรถคาร์ฟูแล้วเดินมาได้)

Website : http://www.lardprao9vet.com



โรงพยาบาลสัตว์รัตนโกสินทร์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : อ.น.สพ.วุฒิวงศ์ ธีรพันธ์ และ น.สพ.สิรันดร์ ถึกอ่ำ
เลขที่ 18/279-280 ซอยวัชรพล 14 หน้าหมู่บ้านคาซาลีน่า 5
(ใกล้โรงเรียนรัตนโกสินทร์) บางเขน กรุงเทพฯ

เบอร์โทรศัพท์ 02-994-0027,02-153-2049,081-454-8123
E-mail : rksanimalhospital@gmail.com

วันและเวลาทำการ : 9.00-21.00 น.  ทุกวัน


โรงพยาบาลสัตว์มัยลาภเลขที่ 15/15 ม.9  ซ.มัยลาภ ถ.รามอินทรา
แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ  10230
โทรศัพท์ 02-860-1158 กด 4
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน  9.00 - 21.00 น.

เอ็น.เค. สัตวแพทย์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.นำดี  แซ่เฮง
เลขที่  96/240  ม.7 ถ.ท่าข้าม  แสมดำ
บางขุนเทียน กรุงเทพฯ
โทรศัพท์  02- 895 -6247
วันและเวลาทำการ :  (กรุณาโทรนัดล่วงหน้า)
จันทร์-ศุกร์     18.30- 21.00 น.
เสาร์-อาทิตย์   9.00 -21.00 น.

โรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.ทวีศักดิ์ อนันต์ศิริวัฒนา
เลขที่ 49/22-23  หมู่ 7  ถ.คลองหลวง-บางขันธ์
ต.คลองสอง อ. คลองหลวง (ตลาดไทย) จ. ปทุมธานี
โทรศัพท์  02- 516-1852
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน 09.00- 21.00 น.

โรงพยาบาลสัตว์บางนาเลขที่  232/2 ถนนบางนา-ตราด  แขวงบางนา  เขตบางนา  กรุงเทพฯ 10260
โทรศัพท์  02- 744-1899, 02- 744-1663
วันและเวลาทำการ : 24 ชั่วโมง ทุกวัน
- กรุณาโทรนัดล่วงหน้า
  หมอเฉพาะทางเข้าตรวจ เฉพาะ วันพฤหัสบดี  เวลา 17.00 -21.00 น.

เวท คอนเนอร์  รักษาสัตว์อยู่ในตลาดแฮปปี้แลนด์ บางกะปิ กรุงเทพฯ
โทรศัพท์  02- 734 3887
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน  9.00 - 22.00 น. 

ชวนชื่นสัตวแพทย์
เลขที่ 47/56 หมู่ 1 ถ.สุขาภิบาล 3 กรุงเทพฯ
โทรศัพท์  02- 373-1848 , 02- 373-1810
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน  9.00 - 21.00 น.

คลินิกรักษาสัตว์เกษสรี สัตวแพทย์ผู้ตรวจ :  น.สพ.สุพจน์  พิบูรณ์รัตนาวงศ์
เลขที่ 25/26 หมู่บ้านเกษสรี 2  ซอยรามคำแหง 124
ถนนสุขาภิบาล 3  กรุงเทพ 10240
โทรศัพท์  02- 373 4712
วันและเวลาทำการ :  จันทร์-ศุกร์    10.00 - 21.oo น.
                            เสาร์-อาทิตย์   9.00 - 21.00 น.

โรงพยาบาลสัตว์บางกรวยสัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.อรวรรณ  คำเอี่ยม
เลขที่ 64/87-89 ม.6 ใกล้ซอยทวีโรจน์  ถ.บางกรวย-ไทรน้อย
ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
โทรศัพท์ : 02- 883 6259
วันและเวลาทำการ : กรุณาโทรนัดล่วงหน้า
วัชรพลรักษาสัตว์ 
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.จินดา  ศุภชวาล
เยื้องหมู่บ้านคาซ่า วิลล์ 18/259  ซ.วัชรพล  ถ.วัชรพล-สายไหม
แขวงคลองถนน เขตสายไหม กทม. 10220
โทรศัพท์ 02 - 994-1259

________________________________________
• ในต่างจังหวัด
 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จ.นครราชสีมา โรงพยาบาลสัตว์ปากช่อง
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ :   น.สพ.วัชรินทร์  หินอ่อน
                        :   สพ.ญ.สุณิสา  เอื้อเฟื้อกลาง
เลขที่ 830/11 หน้าที่ว่าการอำเภอปากช่อง
ถ.มิตรภาพ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ 044-316-212, 089-865-8865 
โทรสาร 044-314-594
website : www.pakchongpet.com

วันและเวลาทำการ : วันจันทร์ - วันเสาร์ 08.00 - 20.00 น.
                           หยุดวันอาทิตย์ 


คลินิก กู๊ดดี้ ด๊อกสัตวแพทย์ผู้ตรวจ :  น.สพ.อภิเษก  คงศิลา
เลขที่ 1285 หมู่ 13 ถนนรัตนภิธาน ต.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30310
โทรศัพท์ 044-324-009, 089-635-2525
วันและเวลาทำการ : เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์  09.00 - 21.00 น.


จ.อุบลราชธานีคลินิก วศินสัตวแพทย์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ :  สพ.ญ.อภิญญา  ทองแย้ม
เลขที่ 141/3 (หน้าโรงหนังเนวาด้า)
ถ.สกลมาร์ค อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 045-256-190, 089-947-0858
วันและเวลาเปิดทำการ : ทุกวัน 09.00 - 21.00 น.


จ.มหาสารคาม
คลินิก พงษ์ธรสัตวแพทย์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : อ.น.สพ.พงษ์ธร  สุวรรณธาดา
191/52 ถ.อัตถบรรชา อ.เมือง จ.มหาสารคาม
โทรศัพท์ 043-742309

จ.ขอนแก่น
คลินิก นอร์ธอีสสัตวแพทย์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : อ.สพ.ญ.ดร.กชกร  ดิเรกศิลป์
เลขที่ 433/7 ถ. มิตรภาพ
ต. ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
  ----------------------------------------------------

ภาคตะวันออก

จ.ชลบุรี
คลีนิคหมอสวนสัตว์ สัตวแพทย์ผู้ตรวจ :  สพ.ญ.ดาริกา  ทองไทยนันท์
117 ถ.สุขุมวิท ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี
โทรศัพท์  083 - 017 9767
วันและเวลาทำการ :  อังคาร-เสาร์ : 17.30-20.30น.
                            อาทิตย์  : 10.30-20.30น.
คลินิกสัตวแพทย์ 55
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ :  น.สพ.เดชา  พิทักษ์กิ่งทอง
เลขที่ 65 ถ.เจิมจอมพล ต.ศรีราชา
อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โทรศัพท์  038- 770-192
วันและเวลาทำการ : อังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.00-20.00 น. 
(หยุดทุกวันจันทร์)  


 ----------------------------------------------------

ภาคเหนือ

จ.ลำปาง คลินิกเพื่อนรัก
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.สกุลแก้ว  ยาคำ
 เลขที่ 111/5  ถ.พระเจ้าทันใจ ต.ต้นธงชัย  อ.เมือง จ.ลำปาง 
 โทรศัพท์  054- 312 258
 วันและเวลาทำการ : ทุกวัน  เวลา 07.30- 21.00 น.

คลินิกบ้านรักษาสัตว์สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : นายสัตวแพทย์พงษ์ประสิทธิ์ พงษ์พิจิตร
เลขที่ 43/20 ถ.ท่าคราวน้อย ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง 52100
โทร. 054-311-110, 08-4040-8630
วันเวลาทำการ จันทร์ – เสาร์ เวลา 09.00 – 19.30 น.

จ.เชียงใหม่ โรงพยาบาลสัตว์ เชียงใหม่รักสัตว์สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.วีณา  ธงซิว
เลขที่ 11/1 ม.4 ต.หนองป่าครั่ง  อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 053-247-959-60

----------------------------------------------------

ภาคกลาง

จ.นครสวรรค์
คลินิกสัตว์เลี้ยงเอเชียเพ็ท
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ :  สพ.ญ.ขวัญรัก ปรีชาสัมมกุล
320/12 ถ.พหลโยธิน(เอเชีย)
ใกล้บิ๊กซีนครสวรรค์ ต.นครสวรรค์ตก
อ.เมือง จ.นครสวรรค์
โทรศัพท์ 056-371-988, 086-1199-349
วันและเวลาทำการ : จันทร์ - เสาร์ : 9.00-20.00 น. ปิดวันอาทิตย์

----------------------------------------------------

ภาคตะวันตก
จ.ราชบุรีโรงพยาบาลสัตว์เมืองโอ่ง
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.วิรุตม์  โชคธนานุกูล
เลขที่ 96,96/4 ถ.รถไฟ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
โทรศัพท์ 032-315-037,081-546-0682
วันและเวลาทำการ : เปิดทำการทุกวัน เวลา 9.00-20.00 น

 ----------------------------------------------------

ภาคใต้
จ.นครศรีธรรมราช
คลินิก ทุ่งสงรักษ์สัตว์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ. อรพรรณ อาจคำภา
เลขที่  151 ถ.ทุ่งสง-สุราษฎร์ (ตรงข้ามโรงเรียนสตรีทุ่งสง)
ต. ปากแพรก อ. ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110
โทรศัพท์ 084-121 3654
วันและเวลาทำการ : จันทร์ถึงศุกร์      17.00 - 20.00 น.
                           เสาร์และอาทิตย์ 10.00 - 20.00 น.


จ.สุราษฏร์ธานีสัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.พุทธิพงศ์ ขาวนวล
เลขที่ 18/31 หมู่บ้านมุกธานี 1 ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์  077-222253. 086-5707071
วันและเวลาทำการ เปิดทำการทุกวัน เวลา 08.30-20.30 น. ฉุกเฉิน 24 ชม.

________________________________________
 Credit : http://www.epofclinic.com/
โทรศัพท์   :  02-513-5007
โทรมือถือ :  087-696-8338
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน เวลา  10.00-21.00 น.


คลินิกสัตว์เลี้ยงจิ๋ว  โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ 
เลขที่  205/5-8 ซอยทองหล่อ (ระหว่างซอย 9 กับ 11)
ถนนสุขุมวิท 55   แขวงคลองตันเหนือ  เขตวัฒนา  กรุงเทพฯ  10110
โทรศัพท์ 02- 712 6301-4
โทรสาร   02-712 5273 หรือ 02-712 9522
วันและเวลาทำการ:  เปิดทำการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
แผนที่  http://www.pethospital.co.th

การให้อาหารกระต่าย



การให้อาหารกระต่าย

       ขอเริ่มต้นด้วยเรื่องที่ไม่อยากพูดถึงเลย – แต่ไม่เอ่ยถึงเสียก็คงจะไม่สบายใจ นั่นก็คือ การที่ พ่อ ๆ- แม่ ๆ ของน้องต่าย บางราย ที่อาจจะติดนิสัยจากการเลี้ยงหมาเลี้ยงแมวมา  แล้วก็เลยเผลอไผลไปว่า กระต่าย ก็เป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกัน คงไม่ต่างอะไรกับหมากับแมว ว่าแล้วก็....ให้กระต่ายกินอะไรอย่างที่เรากินเพราะเคยให้หมาให้แมวแล้วมันก็กิน  มีบางคนเล่าว่า แบ่งขนมให้กระต่ายกินบ้าง บางรายหนักถึงขนาดกินข้าวมันไก่ ก็แบ่งข้าวแบ่งไก่ให้กระต่ายกิน  เลยได้รับ “คำเตือน”  จากเพื่อน ๆ ไปเยอะพอสมพอควร

      กระต่ายนั้น แม้จะมีสี่ขา มีขนยาว แต่ก็ต่างกับหมา-แมวโดยสิ้นเชิง หมา-แมว นั้น โดยธรรมชาติเป็นสัตว์นักล่า และกินเนื้อเป็นอาหารหลัก แต่กระต่าย เป็นผู้ถูกล่า และเป็นสัตว์มังสวิรัติคือไม่กินเนื้อเลย ระบบย่อยอาหารก็คนละเรื่องกันเลย (กรุณาอ่านเรื่องการย่อยอาหารของกระต่ายในบทความเรื่อง กระต่ายคืออะไร ในเว็บนี้ ครับ)

      ดังนั้น  อย่าให้อะไรกับกระต่ายกิน ถ้ามันไม่ใช่อาหารสำหรับกระต่าย และแม้ว่าอาหารบางอย่าง กระต่ายจะกินได้ แต่ขอให้ระวังเรื่องปริมาณ เช่น คุณอาจให้มะละกออบแห้งชิ้นขนาด 1 x 1 ซ.ม. สัก 1 ชิ้น กับกระต่ายได้ เพราะไม่มีอันตรายอะไร แต่ ถ้าให้สัก 10 ชิ้นล่ะ?

              พึงนึกไว้เสมอว่า คนเรามี น้ำหนัก ประมาณ 50-60 เท่า ของน้ำหนักกระต่าย ดังนั้น อะไร 1 ชิ้นสำหรับเรา จะมีปริมาณเท่ากับ 50-60 ชิ้น สำหรับกระต่าย นึกไว้อย่างนี้เสมอ ๆ  จะช่วยเตือนให้เราระวังยั้งมือ ไม่ให้ความรักความเอ็นดูที่เกินเหตุของเรา ทำร้ายกระต่ายที่เรารักโดยไม่ตั้งใจ

อะไรคืออาหารที่เหมาะสมสำหรับกระต่าย?
       ที่จริงแล้ว อาหารหลักของกระต่ายคือ หญ้า เพราะสัตว์กินพืช ขนาดกระต่ายนี่ มันไม่มีปัญญาจะปีนป่ายขึ้นไปกินอะไรได้ แต่ก็นั่นแหละ ถ้าจะบอกว่าการเลี้ยงกระต่ายโดยให้กินเฉพาะหญ้าอย่างเดียวก็คงไม่มีใครเชื่อ ที่สำคัญก็คือ แม่ ๆ พ่อ ๆ ที่เลี้ยงกระต่ายอยู่ในเมือง แล้วรักเหมือนลูกอย่างพวกเรานี่ จะไปหาหญ้าหลากหลายชนิดจากที่ไหนให้เขา อีกอย่างหนึ่งอาหารกระต่ายที่ผลิตออกมาขายกันนั้นมีมากมายและล้วนแต่บรรยายสรรพคุณกันสุด ๆ ทั้งนั้น ซึ่งก็เหมาะสมเช่นกันที่จะนำมาเลี้ยงกระต่ายในห้องหรือในบ้านของเรา

       บทความนี้จึงขอเดินสายกลาง คือขอให้คำแนะนำที่ถูกต้องและทำได้ ในการให้อาหารกระต่ายโดย ขอให้แบ่งช่วงวัยของกระต่ายออกเป็น ช่วง ๆ ดังนี้

1. กระต่ายวัยทารก (Infant/Baby) คือกระต่ายแรกเกิดจนถึง 1 เดือนครึ่ง
2. กระต่ายวัยเด็ก (Kids) คือเริ่มจากหย่านม ( ประมาณ 1 เดือนครึ่ง) จนถึง 3 เดือน
3. กระต่ายวัยรุ่น (Junior) คือช่วงหลัง 3 เดือน จนถึง 5 หรือ 6 เดือนแล้วแต่สายพันธุ์
4. กระต่ายโตเต็มวัย (Adult /Senior) เป็นกระต่ายที่พ้นวัยรุ่นมาแล้ว เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
5. กระต่ายที่เริ่มตั้งท้อง และช่วงให้นมลูก 
6. กระต่ายมีอายุ...อันนี้พูดยาก ว่าจะเริ่มที่อายุเท่าไหร่ เป็นว่าพ้นวัย(ที่ควรจะ) ผสมพันธุ์ก็ แล้วกัน คือตกอยู่ในช่วง 4 ปีขึ้นไปสำหรับกระต่ายเพศเมีย ส่วนเพศผู้ก็อาจประมาณ 5 ปี
 
" มาหม่ำหญ้าขนกับเอสเต้ไหมคะ? "
กระต่ายวัยทารก
       อาหารหลักของกระต่ายวัยทารก ช่วงแรกเกิดจนถึง 15-20 วัน คือนมแม่เพียงอย่างเดียว พ้นจากนั้น กระต่ายน้อยจะเริ่มกินอาหารเม็ด(สำหรับกระต่ายเด็ก) ได้ ช่วงที่ควรกินแต่นมแม่นั้นเราไม่ควรเข้าไปยุ่งอะไร นอกจาก กรณี ต่อไปนี้ :- 

       แม่ตาย / แม่ไม่เลี้ยงลูก / แม่มีลูกมากเกินไปจนบางตัวแย่งเขากินไม่ทัน และอีกกรณีหนึ่งคือ ไปได้กระต่ายเด็กหรือลูกกระต่ายอายุน้อย ๆ มาเลี้ยง ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ


        นมที่พอจะหาได้และใกล้เคียงนมแม่กระต่ายที่สุดที่นิยมใช้กันเพื่อป้อนทารกกระต่าย มี 2 ยี่ห้อ คือ Esbilac และ KMR  นมที่ใช้เสริม ในกรณีที่กระต่ายถูกพรากจากอกแม่ในวัยที่น้อยกว่า 1 เดือนครึ่ง อาจใช้ Esbilac และ KMR หรือประหยัดหน่อยก็เป็นนมแพะ ชนิด Sterilize ร่วมกับอาหารเม็ดสำหรับกระต่ายวัยเด็ก
       การให้นมลูกกระต่ายนี่ ผมขอยกไปเขียนเป็นเรื่องเป็นราวโดยละเอียดในอีกบทความหนึ่งต่างหากนะครับ

กระต่ายวัยเด็ก
       มีอาหารเม็ดหลากหลายชนิดที่ตั้งใจผลิตกันขึ้นมาเพื่อกระต่ายวัยนี้ ซึ่งเป้นวัยที่ต้องการสารอาหารกลุ่มโปรตีนและแคลเซียมสูง เพื่อใช้ในการพัฒนากล้ามเนื้อและโครงสร้าง ยี่ห้อที่คุ้นหู้คุ้นตา คือ Oxbow รุ่น15/25 และ ยี่ห้อ Prestige รุ่น Junior  และอีกหลากหลายชนิด
       ในวัยเด็กนี้ ตามธรรมชาติ กระต่ายจะเริ่มกินหญ้าแล้ว แต่ในบ้านเรา มักจะบอกต่อ ๆกันมาว่า ห้ามให้ผักและหญ้าสดกับกระต่ายที่อายุไม่ถึง 3 เดือน ซึ่งผมก็เห็นด้วยและขอเสริมเหตุผลให้ดังนี้
           ในเมืองใหญ่ หรือแม้ในชนบทซึ่งมีการทำไร่ทำสวน ที่ต้องฉีดยาฆ่าแมลงกันมากมายนั้น การจะหาหญ้าที่สดสะอาดปราศจากสารเคมีและไข่พยาธิ ไข่แมลง นั้นเป็นเรื่องยากเย็นยิ่งนัก จึงจำเป็นต้องแนะนำด้วยเหตุผลกันว่า ในวัยเด็กที่อายุยังไม่ถึง 3 เดือนนี่ น้ำหนักเขาน้อยมาก สารเคมีเพียงนิดเดียว (ไม่กี่ ppm) ที่กระต่ายใหญ่พอรับและขจัดได้ ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายกับกระต่ายเล็ก ๆ ได้มากเพราะเมื่อเทียบปริมาณสารพิษกับน้ำหนักตัวแล้วนับว่าสูงทีเดียว

           อีกประการหนึ่ง ร่างกายกระต่ายน้อยยังไม่แข็งแรง และระบบการกำจัดสารพิษยังไม่ดีพอที่จะจัดการกับสิ่งแปลกปลอมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบการกรองสารเคมีจากเลือดสู่สมองซึ่งจะพัฒนาเต็มที่เมื่อย่างเข้าอายุ 3 เดือน และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมคุณหมอถึงไม่หยดยากำจัดพยาธิให้กระต่ายที่อายุไม่ถึง 3 เดือน
         
             สรุปได้ว่า กระต่ายเด็กที่ยังอายุไม่ถึง 3 เดือน ควรให้อาหารเม็ดสำหรับกระต่ายเด็กเสริมด้วยหญ้าแห้งที่ผลิตมาอย่างสะอาด เน้นหนักที่หญ้า (ต้นถั่ว) แห้งที่มีชื่อว่า Alfalfa เนื่องจากมีโปรตีนและแคลเซียมสูงดี

         การให้อาหารกระต่ายในวัยเด็ก ผู้เลี้ยงกระต่ายมืออาชีพ  นิยมให้อาหารแบบ Free Feed หมายความว่า ให้กินได้เรื่อย ๆ ไม่จำกัด เพื่อให้พัฒนาการทางร่างกายของน้องต่ายโตเต็มที่
          ที่ Bunny Delight เรา ใช้อาหารกระต่ายเด็ก ยี่ห้อ Prestige รุ่น Junior ส่วน Alfalfa เราใช้ยี่ห้อ KING ให้ทุกเช้า ส่วนตอนเย็นเราให้หญ้าแห้งหลากหลายชนิดสลับกัน
ทั้งหญ้า และอาหาร เมื่อครบ 24 ชั่วโมง คือทุกเช้า อาหารทั้งหมดที่เหลือค้าง ต้องเททิ้งก่อนจะชื้นและมีราขึ้น  ส่วนภาชนะทุกใบก็ล้างแล้วตากแดด (เรามีภาชนะ 2 ชุดสลับกันใช้งาน)


"แสดงแบบโดย ดญ.ดิออร์ กับเพนท์เฮาส์ของเธอ"

กระต่ายวัยรุ่น
       กระต่ายวัยรุ่น กำลังมีพัฒนาการทางร่างกายที่ยังคงต้องการอาหารที่มีคุณค่าโปรตีนและแคลเซียมสูงอยู่  จึงยังคงให้กินอาหารสำหรับกระต่ายเด็กต่อไป ที่ต่างออกมาคือพออายุได้ 3 เดือน ระบบต่าง ๆ ในร่างกายของน้องต่ายก็สมบูรณ์พอในขณะเดียวกัน น้ำหนักก็มากพอ สมควรที่จะเริ่มให้หญ้าสดกินได้แล้ว หญ้าสดที่หาได้ง่ายในบ้านเราและมีคุณค่าทางอาหารทีดีคือ หญ้าขน นี่เอง
       ที่ Bunny Delight เราโชคดีที่อยู่บ้านนอก แม้ว่าแถวนี้จะมีการทำแปลงเกษตรอยู่บ้าง แต่ก็มีแปลงที่ดินของอภิมหาเศษฐี (คือท่านผู้มีที่ดินแล้วทิ้งไว้ให้หญ้าขึ้นเล่น ๆ ) อยู่หลายแปลง  หญ้าขนแถวนี้จึงหาง่ายและอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักทั้งอวบทั้งยาว แม้กระนั้น เราก็เลือกตัดมาเฉพาะยอด มีใบ 3 – 4 ใบ ใน 1 ก้าน นำมาแช่ในน้ำยาล้างผัก ซึ่งก็เป็นตัวเดียวกันกับน้ำยาล้างขวดนม ซึ่งเป็นสารที่สกัดมาจากมะพร้าวและข้าวโพด   แช่อยู่ 10 นาทีก็สบัดน้ำทิ้ง เพื่อล้างฝุ่นผงและสิ่งแปลกปลอม ถัดจากนั้นก็ล้างด้วยน้ำเปล่า 1 ครั้งแล้วแช่ในน้ำที่ผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต อีก 10 นาที เพื่อขจัดสารเคมีตกค้างที่เป็นอันตราย ล้างน้ำเปล่าอีก2-3รอบ สบัดเบา ๆ แล้วผึ่งให้หมาดน้ำก่อนเสิร์ฟ
       การเริ่มให้หญ้าสด ควรเด็ดเฉพาะยอดแหลม ๆ พร้อมใบ อีก 1 ใบ ให้กินตัวละ 1 ก้านก่อน แม้ว่าน้องต่ายจะหม่ำกร้วม ๆๆ รวดเดียวหมดแล้วทำท่ากระดี๊กระด๊า ตะกายกรง ประมาณว่า เอาอีก ๆๆ  ก็ขอความกรุณาอย่าใจอ่อนเด็ดขาด รอดูอาการว่า ถัดจากนั้น อึเขายังเป็นปกติดี ไม่เหลว และไม่มีสัญญาญอันตรายใด ๆ วันต่อมาค่อยให้ 2 ก้าน แล้วดูอาการ หรือค่อย ๆเพิ่ม แต่ไม่เกินวันละ 4 ก้าน จนครบ 1 สัปดาห์ ถ้าทุกอย่างเป็นปกติ จะให้เท่าไหร่ก็เอาเลย
            วัย 3 เดือนครึ่ง คือหลังจากให้หญ้าขนมาราว ๆ 1-2 อาทิตย์ ก็ลองให้ผักเสริมในช่วงเช้า ๆ หรือ ค่ำ ๆ ให้คราวละชนิดก่อน เมื่อไม่มีสัญญาณอันตรายใด  ๆ ก็จัดจานผักสลัดให้ได้เลย
              สลัดผักสดที่ Bunny Delight ให้กับน้องต่ายของเรา อาทิตย์ละ 3-4 วัน คือ ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ คะน้าฮ่องกง ผักกาดหอม แครอทหั่นชิ้นเล็ก ๆ ข้าวโพดหวาน(ดิบ) แกะเมล็ด (อย่าให้มาก จะอ้วน) และแอปเปิ้ล (ระวังแกนและเมล็ด มีพิษจ้ะ) นาน ๆทีก็มี เซอราลี่ บ้าง คึ่นช่ายบ้าง   กระเพรา ให้ตัวละ 1 ก้าน อาทิตย์ละ 1 ครั้ง
             ผักที่ต้องห้ามสำหรับกระต่ายคือ ผักบุ้ง เพราะมียาง-ระบบย่อยอาหารของกระต่ายอาจรวนได้ / ถั่ว,กะหล่ำปลี ไม่ควรให้เพราะทำเกิดแกสในกระเพาะทำให้ท้องอืด และ กระถิน เพราะมีสารพิษที่ชื่อ  Mimosine  ทำให้ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ ขนร่วง และต่อมไทรอยด์โต(คอพอก) สาร Mimosine นี้อาจลดลงได้ถ้าตากแดดหรืออบความร้อนในขบวนการผลิตอาหารสัตว์ระดับโรงงาน แต่สำหรับเรา ๆ เลี่ยงได้ก็เลี่ยงไว้ก่อน จะปลอดภัยกว่า
  

กระต่ายโตเต็มวัย

           เมื่อกระต่ายเริ่มอายุได้เกือบ ๆ  6 เดือน พัฒนาการต่าง ๆ จะถึงจุดคงที่แล้ว ต้องเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารสำหรับกระต่ายโต ซึ่งจะลดปริมาณโปรตีนลงและเน้น ไฟเบอร์มากขึ้น ควรผสมอาหารเม็ดสำหรับกระต่ายโต กับอาหารเม็ดเดิม แทรกเข้าไปวันละประมาณ 15 - 20 % จนครบ 1 สัปดาห์ กระต่ายก็จะชินกับอาหารใหม่ทั้งหมด จากประสบการณ์พบว่าถ้าเป็นอาหารยี่ห้อเดียวกัน แต่ต่างรุ่นกัน มักไม่มีปัญหา

             การให้ Alfalfa ในช่วงวัยนี้ ควรลดลงเปลี่ยนเป็นหญ้าแห้ง พวก Timothy / Orchard / Mountain Hay /Bermuda /ฯลฯ  แทน


             การให้หญ้าสด และผัก ก็ให้เหมือนกระต่ายรุ่น คือให้หญ้าขนสด ตลอดวัน และเสริมผัก สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เลิกการให้อาหารแบบ Free Feed แล้วเริ่มคุมปริมาณอาหารเม็ดไว้ที่ 40-50 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ถ้าเขากินจนหมดแล้วยังหิวอยู่ เขาจะกินหญ้าสดและหญ้าแห้งแทนเอง ถ้าให้อาหารเม็ดมากไป จะอ้วน ทำให้อ่อนแอ ผสมพันธุ์ติดยาก

      
            หญ้าแห้งจะช่วยให้ฟันหน้าของกระต่ายสบกันสนิท เนื่องจากต้องบดเข้าหากันในขณะเคี้ยวหญ้า ถ้ากระต่ายกินแต่อาหารเม็ดซึ่งขบปุ๊บแตกปั๊บ ฟันของกระต่ายจะไม่ได้บดเข้าหากันเหมือนเคี้ยวหญ้า อาจจะงอกยาวออกมาทำให้ฟันผิดรูปได้
 

กระต่ายที่เริ่มตั้งท้อง และช่วงให้นมลูก 

          เมื่อกระต่ายท้อง กระต่ายต้องการสารอาหารมากสำหรับบำรุงตัวเองและลูกในท้อง ยังคงใช้อาหารสำหรับกระต่ายโต แต่กลับมาเสริมโปรตีนและแคลเซียมด้วย Alfalfa ในขณะเดียวกัน ปริมาณอาหารเม็ดและหญ้า ต้องให้มากพอ หรืออาจจะ Free Feed เลยก็ได้ ส่วนผักสด เพิ่มปริมาณข้าวโพดหวานดิบ และควรเสริมเซอราลี่ ให้ด้วย จะช่วยให้แม่กระต่ายสร้างน้ำนมได้ดีขึ้น
            ให้อาหารแบบนี้กับกระต่ายหลังหย่านมลูกต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงดี แล้วจึงค่อยปรับอาหารให้เป็นอาหารของกระต่ายโตธรรมดา ต่อไป
 

"ดิออร์อีกครั้งเมื่อยามเป็นสาว  เก๊กสวยกับชามสลัด"

กระต่ายที่มีอายุมาก
          กระต่ายเลี้ยงนี่ มีอายุยืนนะครับ อาจจะประมาณ 10 ปีถึง 15 ปี พออายุมาก ๆ  คือเกินกว่า 4-5 ปีแล้วนั้น แทบไม่มีกิจกรรมอะไรแล้ว เอามาปล่อยสนามหญ้า ก็วิ่ง เปาะๆ แปะๆ 2-3 นาทีก็นอนเหยียด ตาปรือ เอามาอุ้มเล่นได้ง่าย ไม่หือไม่อือ ไม่ดิ้นไม่ตะกาย   เพราะนอกจากจะคุ้นกับเราจนเป็นเพื่อนรักไว้ใจกันได้สนิทใจแล้ว ก็ยังไม่รู้จะซนไปหาอะไรอีกแล้วด้วย  อาหารที่เหมาะกับกระต่ายวัยนี้ จึงน่าจะเป็นหญ้าต่าง ๆ เน้นแต่ไฟเบอร์เป็นหลัก ให้โปรตีนให้แคลเซียมมากไปก็เดือดร้อนไต ที่ต้องขับออก ดังนั้นก็ให้อาหารเม็ดสำหรับกระต่ายโตบ้าง แต่ไม่ต้องมาก 30-40 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโล ก็พอแล้ว วางหญ้าแห้ง (ที่ไม่ใช่ Alfalfa) และหญ้าสด ให้เป็นหลัก วัยนี้ ผอมนิดหน่อยดีกว่าอ้วนเกินครับ เขาจะได้นอนหนุนตักเราเล่นไปนาน ๆ
              อาหารที่สำคัญสุด ๆของกระต่ายวัยเกษียณ คือ อาหารใจครับ อุ้มเล่น ลูบหัวลูบตัวพูดคุยกับเขา อย่าละเลยทอดทิ้ง อย่าเห่อกระต่ายใหม่ ๆ จนลืมเขา นะครับ
 


ภาชนะใส่อาหาร

               ภาชนะที่ดี คือถ้วยเซรามิกทรงกลมหรือรี ที่มีขอบตั้งตรง สูงประมาณ 3 ซ.ม. ขนาดของถ้วยต้องไม่ใหญ่จนกระต่ายเอาก้นเข้าไปแหย่ได้ง่าย ๆ เพราะกระต่ายหลายตัว ชอบอึ และ/หรือ ฉี่ ใส่ถ้วย ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเล็กมากเพราะน้ำหนักเบา กระต่ายจะคาบเหวี่ยงได้ง่ายเกินไป ที่ใช้อยู่และรู้สึกพอดี คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ   10-15 ซ.ม.
          ขอยืนยันให้ใช้ถ้วยแบบเซรามิก (กระเบื้องเคลือบ) เพราะทำความสะอาดง่าย แห้งไว ถ้วยแบบชามดินเผานี่ใช้ใส่หญ้าแห้งได้ แต่ใส่อาหารไม่เหมาะจึงไม่ขอแนะนำ เพราะชื้นง่ายแห้งยาก ราขึ้นอีกต่างหาก เปียกฉี่เปียกน้ำที ล้างแล้วรอครึ่งวันยังไม่อยากจะแห้งดีเลย แต่ถ้ามีผลัดเปลี่ยน 2 ชุด ก็พอใช้ได้ครับ
            การอึหรือฉี่ใส่ถ้วยอาหารของกระต่าย อาจเกิดจากการที่เขาต้องการสร้างกลิ่นว่า ถ้วยนี้เป็นของเขา แต่ในบางกรณี เช่น ถ้าฟันของเขาเก ยาว หรือปากเจ็บ กระต่ายก็ “จำเป็น” ต้องฉี่ใส่อาหาร ให้มันนิ่ม จะได้กินง่าย ดังนั้น ถ้าพบว่ากระต่ายฉี่ใส่ถ้วยอาหาร ขอให้รีบอุ้มกระต่ายมาดูว่าปากและฟันของเขามีปัญหาอะไรหรือเปล่า
              เกือบลืมไป ว่า น้ำสะอาด คืออาหารที่จำเป็นมากสำหรับกระต่าย ยิ่งกระต่ายที่กินหญ้าแห้งและอาหารเม็ดซึ่ง “แห้ง” มากเมื่อเทียบกับอาหารในธรรมชาติ กระต่ายก็ยิ่งต้องการน้ำมากขึ้นไปอีก

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เลี้ยงกระต่ายหูตกห้ามผสมข้าพันธุ์

  เผยวัยรุ่นไทยนิยมเลี้ยงกระต่ายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอป  หรือกระต่ายหูตก  มีลักษณะเด่นที่ความเชื่องเหมือนสุนัข  จำชื่อตัวเองได้  เตือนห้ามผสมข้ามสายพันธุ์  จะทำให้พิการและตายเร็ว

     นางสาวอุยะเนตร   ชั่นฮง  เจ้าของฟาร์มเลี้ยงกระต่าย  เปิดเผยว่า  กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง   แม้สภาพเศรษฐกิจจะไม่ค่อยดีนัก  แต่ตลาดการซื้อขายยังคงไปได้เรื่อยๆ  โดยในช่วง  2  ปีที่ผ่านมา  กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอป  (Holland  Lop)  ซึ่งเป็นกระต่ายแคระหูตก  กำลังได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงกระต่ายในเมืองไทยมากที่สุดในขณะนี้   เนื่องจากมีลักษณะโดดเด่นตรงที่มีความเชื่องมาก  หุ่นแข็งแรง  บึกบึน   หูตก  ขนสั้น  สามารถจดจำชื่อของตัวเองได้และยังรู้จักเจ้าของอีกด้วย  ทั้งนี้  ราคาซื้อขายกระต่ายขึ้นอยู่ที่สีสันและรูปร่างลักษณะตั้งแต่  3,000  บาทจนถึงหลักหมื่นบาท  กลุ่มลูกค้าที่ชอบเลี้ยงคือ  กลุ่มวัยรุ่น

     น.ส.อุยะเนตรกล่าวว่า   โดยธรรมชาติของกระต่ายฮอลแลนด์ลอป   หรือกระต่ายหูตก  มีความเชื่อง  ฉลาด  และแสนรู้คล้ายสุนัข  ซึ่งต้องอาศัยการคลุกคลีหรือเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากเจ้าของ  โดยสามารถฝึกกระต่ายให้จำชื่อตัวเองได้จากการให้อาหารและเรียกชื่อบ่อยๆ  เมื่อเจ้าของเรียกชื่อก็จะหันมามอง   แถมยังฝึกให้เข้าห้องน้ำในกรงได้อีกด้วย  โดยใช้วิธีกำหนดจุดที่จะให้เขาฉี่หรืออึในมุมใดมุมหนึ่งของกรงเลี้ยง  ทั้งนี้  ผู้นำเข้ากระต่ายฮอลแลนด์ลอปมีเพียงไม่กี่ราย   โดยผ่านการรับรองจากสมาคมกระต่ายแห่งประเทศไทย  มีกติกาควบคุมผู้นำเข้ากระต่ายอย่างเข้มงวด  เช่น  ห้ามผสมพันธุ์กระต่ายข้ามสายพันธุ์  ห้ามจำหน่ายกระต่ายเด็กที่ยังไม่หย่านม

     "ที่ผ่านมา   เรามักจะพบว่ามีผู้ค้ากระต่ายหลายรายในตลาดนัดจตุจักร  มักจะนำกระต่ายฮอลแลนด์ลอปตัวผู้มาผสมพันธุ์กับกระต่ายไทยตัวเมีย  เพื่อหวังจะได้ลูกกระต่ายจำนวนมาก  แล้วนำมาแอบอ้างว่าเป็นกระต่ายหูตกแท้  100%  ขายในราคาถูก  แต่ปรากฏว่าเมื่อซื้อไปเลี้ยงได้ไม่นานก็จะมีปัญหาสุขภาพ  เช่น  ฟันเก  ขาเป๋  และถึงขั้นช็อกตายไปในที่สุด"  เจ้าของฟาร์มเลี้ยงกระต่ายรายนี้กล่าว.

สายพันธุ์กระต่าย

สายพันธุ์กระต่าย
 
1.กระต่ายไทย เป็นกระต่ายพื้นบ้านของประเทศไทยคับ ลักษณะตัวใหญ่ มีหลากหลายสี ว่องไวปราดเปรียว หูยาว หน้าค่อนข้างจะกลม มีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดได้สูง
 
2.นิวซีแลนด์ ไวท์ แรบบิท เป็นกระต่ายพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์ ลักษณะตัวใหญ่กว่ากระต่ายไทย มีขนสีขาวจนถึงเหลืองอ่อนๆ หูยาว ตาแดง มีลักษณะลำตัวอ้วนตัน ใช้สำหรับเป็นอาหารและการทดลอง
 
3.ไลอ้อนเฮดท์ เป็นกระต่ายที่ตัวใหญ่ มีขนเป็นแผงคอจึงทำให้ดูเหมือนสิงโต ตัวอ้วน น้ำหนักมาก มีหลายสี
 
4.เท็ดดี้แบร์ เป็นกระต่ายที่มีขนาดกลางๆ มีขนฟูทั่วตัว ดูเเล้วน่ารัก มีหลากหลายสี พบได้ง่ายในท้องตลาด
 
5.วู๊ดดี้ทอย เป็นกระต่ายขนาดค่อนข้างเล็ก มีขนนุ่มๆฟูๆกระจายไปทั่วตัว คล้ายๆเท็ดดี้แบร์ แต่จะตัวเล็กกว่า มีหลายสี อาจหาได้ยากกว่าเท็ดดี้แบร์
 
6.เจอร์รี่วู๊ดดี้ทอย เป็นกระต่ายพันธุ์ผสม มีขนนุ่ม ฟูไปทั่วตัว ตัวเล็ก มีหลากหลายสี ราคาค่อนข้างสูง และหาได้ยากตามท้องตลาด
 
7.มินิล็อป เป็นกระต่ายหูตกชนิดหนึ่ง มีขนาดกลางๆ ลำตัวค่อนข้างอ้วนกลม ขนจะยาว หาเจอได้ง่ายตามตลาด
 
8.ฮอลแลนด์ล็อป กระต่ายหูตกอีกชนิดหนึ่ง ราคาค่อนข้างสูง มักมีแต่สีพื้นๆ มีขนาดเล็กกว่ามินิล็อป ดูเเล้วหน้ากลมน่ารัก
 
9.เฟรนซ์ล็อป เป็นกระต่ายหูตกพันธุ์ใหญ่ที่สุด ลำตัวอ้วน ตัน ตัวใหญ่มากๆ หาได้ยากในเมืองไทย
 
10.อิงลิซล็อป กระต่ายหูตกที่ดังที่สุดในอังกฤษ ในประเทศไทยต้องสั่งนำเข้ามาเท่านั้น หูจะยาวกว่าลำตัว ขนจะสั้นเกรียนไปทั่วทั้งตัว
 
11.ดัชต์ เป็นกระต่ายพันธุ์กลางๆอีกชนิดหนึ่ง ขนสั้น ลำตัวเปรียว ราคาก็ค่อนข้างสูง หูจะยาว กระโดดได้สูง
12.มินิเร็กซ์ เป็นกระต่ายใหญ่ มีขนแบบกำมะหยี่ ราคาค่อนข้างสูง ลำตัวยาว เปรียว วิ่งเร็ว
 
13.โปลิส มีต้นกำเนิดที่เบลเยี่ยม หูสั้น ปลายหูชนกัน ตัวเล็ก ราคาค่อนข้างสูง
 
14.เนเธอร์แลนด์ดรอฟ เป้นกระต่ายพันธุ์ผสมระหว่างกระต่ายแคระกับกระต่ายเนเธอร์แลนด์ มีขนาดเล็กที่สุด หูสั้น ตัวอ้วน แต่เปรียว ราคาแพง แต่เป้นที่นิยม หัวจะกลมหน้าจะสั้น

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการจับกระต่าย


rabbit-bunnyonline-004

 วิธีจับกระต่าย

กระต่ายเป็นสัตว์ที่ ตกใจง่าย ดังนั้นการจับกระต่ายจะต้องทำด้วยความนุ่มนวลและถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยของ ตัวกระต่ายและตัวผู้จับด้วย ไม่ควรจับกระต่ายโดยการหิ้วหูเพราะจะทำให้กระต่ายเจ็บปวด และอาจเป็นสาเหตุทำให้กระต่ายหูตกได้ การจับกระต่ายที่ถูกวิธีมีดังนี้
ธันวาคม 17, 2009  

การขยายพันธุ์


 การขยายพันธุ์

กระต่ายที่จะนำมาผสม พันธุ์ควรมีอายุอย่างน้อย 5 – 7 เดือน ขึ้นอยู่กับพันธุ์หรือมีน้ำหนักมากกว่า 2.5 กิโลกรัม อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์คือ 1 ต่อ 8 – 10 ตัวและพ่อพันธุ์หนึ่งตัวไม่ควรผสมเกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ กระต่ายตัวเมียจะมีรอบการเป็นสัตว์ประมาณ 16 วั

ดูเพศกระต่าย


เพศผู้

 การดูเพศกระต่าย

กระต่ายที่โต แล้วสามารถที่จะดูเพศได้อย่างชัดเจน โดยที่ตัวผู้จะเห็นลูกอัณฑะอยู่นอกช่องท้องชัดเจน และตัวเมียเห็นอวัยวะเพศอยู่ใต้ทวารหนัก แต่การดูเพศในลูกกระต่ายนั้นจะต้องอาศัยความชำนาญ ความแม่นยำทางสายตาและแสงสว่างที่เพียงพอ ลูกกระต่ายที่จะดูเพศได้อย่างชัดเจน ควรมีอายุเกิน 2 สัปดาห์

เมื่ออยากจะเลี้ยงน้องกระต่าย



หน้าแรก > บทความ > ใครที่กำลังจะรับกระต่ายมาเลี้ยง-อ่านตรงนี้ก่อนเลย

09/08/2010
View: 9,572
ใครที่กำลังจะรับกระต่ายมาเลี้ยง-อ่านตรงนี้ก่อนเลย


          เมื่อคุณผ่านกระบวนการตัดสินใจว่าจะ รับ จะซื้อ จะขอ หรือจะอะไรก็แล้วแต่ เอาเป็นว่ากำลังจะได้กระต่ายมาเลี้ยง กรุณาอ่านตรงนี้ก่อน...

          คุณมั่นใจแล้วนะครับว่า คุณอยากเลี้ยงกระต่ายจริง ๆ?   คุณทราบดีแล้วนะว่ากระต่ายน่ะต่างจากหมาและแมวมากมายอย่างไร? คุณเข้าใจเรื่องการให้น้ำให้อาหาร รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารของกระต่ายดีพอหรือไม่?  กรงและสถานที่ ตลอดจนอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ที่น้องกระต่ายจำเป็นต้องมีต้องใช้ คุณเตรียมพร้อมเรียบร้อยแล้วนะ?

          ถ้าทุกข้อ คุณตอบว่า "ใช่ ใช่เลย โอเค แหงละ....." แบบนี้ผมก็ดีใจด้วย แต่ถ้ายัง งง ๆ บ้าง ไม่ชัวร์บ้าง ก็ขอความกรุณา หาบทความที่กล่าวถึงเรื่องพวกนี้อ่านเสียให้เข้าใจ ที่ผมเขียนไว้ในเว็บนี้ก็มีหลายบทความอยู่ ถึงจะยังไม่ครบถ้วน แต่ก็คงพอช่วยได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
          เอาละ เป็นอันว่า วันนี้ วันพรุ่ง คุณจะไปรับกระต่ายมาละ ในความตื่นเต้นดีใจที่คุณกำลังเป็นปลื้มอยู่นี้ กรุณาสละเวลาอ่านคำแนะนำตรงนี้สักนิดเถิด

1. ตอนที่จะรับกระต่ายมา อย่าลืมขออาหารที่น้องกระต่ายกินอยู่มาด้วย ปริมาณ   อาหารที่ขอมาควรมากพอสำหรับ 5- 7 วัน (ประมาณ200-300 กรัม) เป็นอย่างน้อย ถ้าขอจานอาหารและขวดน้ำที่น้องกระต่ายใช้ประจำอยู่มาได้ด้วย จะยิ่งดีใหญ่

2. เมื่อถึงที่พัก -v.shอดใจไว้ก่อน อย่าเพิ่งเล่นกับกระต่าย ให้รีบนำกระต่ายเข้ากรงใหม่ ให้อาหารที่เขาเคยชินและให้น้ำที่ผสม Pro Digst หรือPro Biotic ทันที   เพราะหลายกรณีที่เคยได้ยินและได้พบมานั้น  กระต่ายเกิดภาวะเครียดจากการเดินทางและการย้ายที่อยู่  ภาวะเครียดนี้จะทำให้กระต่ายหลั่งสารเคมีบางอย่างออกมาทำให้ระบบทางเดินอาหารรวน และกระต่ายอาจจะท้องเสีย การเสริมจุลชีพที่มีประโยชน์ให้เขาในทันที จะช่วยชลอหรือยับยั้งอาการป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

3. ข้อ 2 นั้นทำยาก เพราะหลายคนอาจกำลังเห่อ ในข้อ 3 นี้ยากกว่าอีกเพราะกำลังจะบอกว่าใน 48 ชั่วโมงแรก อย่าเพิ่งเอาน้องกระต่ายออกมาจากกรงและอย่าเพิ่งเอาออกมาอุ้ม เพราะในการย้ายบ้านวันแรก ๆ กรงก็ใหม่ กลิ่นรอบ ๆ ตัวก็ใหม่ อะไร ๆ ไม่คุ้นหู คุ้นตา คุ้นจมูกไปหมด ยิ่งบางราย รับกระต่ายโดยแยกจากอกแม่มาเลยนี่ยิ่งแย่ใหญ่ กระต่ายจะสับสนและระแวงภัย ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ช่วงแรกนี้ อย่าทำอะไรรุนแรง อย่าให้มีเสียงดังโครมคราม และไม่ควรเลยที่จะเอาออกมาวิ่งเล่น
"ดญ.คาร์เทีย ตอนอายุ2เดือน  เพิ่งรู้จักสนามหญ้า"

4. ในการให้อาหารแต่ละครั้ง ควรเรียกชื่อแล้วยื่นหลังมือให้กระต่ายดม เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเขาไปเรื่อย ๆ หลังจาก 48 ชั่วโมงไปแล้ว อาจลูบหัวลูบตัวได้แต่ถ้ากระต่ายวิ่งหนีไปซุกมุมกรง อย่าฝืนใจเด็ดขาด

5. ถ้าเป็นไปได้ ควรให้กระต่ายอยู่ในห้องที่มีอากาศเย็นสบาย  ไม่ควรร้อนเกิน 28 องศาเซลเซียส และไม่ควรย้ายไปย้ายมา กระต่ายอาจทนอากาศที่ร้อนได้บ้าง แต่ไม่ควรมีการเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างฉับพลันทันที และถ้าจะเปิดพัดลมให้ อย่าเป่าตรง ๆ  ควรปรับพัดลมให้ส่ายจะดีกว่า

6. ควรให้อาหารชนิดเดียวกับที่เขาเคยกิน แต่หากจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ควรให้เขากินอาหารแบบเดิมไปอีก 2 วัน เพราะอย่างน้อย ในความแปลกใหม่ของอะไร ๆ รอบตัว มีอาหารเดิมเป็นสิ่งที่คุ้นเคยสักอย่างหนึ่ง ก็จะช่วยให้เขาเครียดน้อยลง จากนั้นให้เริ่มผสมอาหารใหม่กับอาหารเก่าในวันที่ 3 โดยผสมอาหารใหม่วันละประมาณ 15-20 % หรือกะให้เปลี่ยนเป็นอาหารใหม่ทั้งหมดใน 5-7 วัน ระหว่างนี้ ขอให้สังเกตพฤติกรรมการกินว่ากระต่ายยอมรับอาหารใหม่หรือไม่ มีอาการท้องเสียหรือไม่

7. อย่าให้กระต่ายกินอะไรที่ไม่ใช่อาหารสำหรับกระต่าย หรืออาหารที่ยังไม่เหมาะสมกับวัยโดยเด็ดขาด กระต่ายอายุน้อยที่ท้องเสีย จะมีโอกาสรอดยาก (กรุณาอ่านบทความเรื่องการให้อาหารกระต่ายประกอบด้วย)
8. หลังจาก 3 วันไปแล้ว คุณกับน้องกระต่ายน่าจะคุ้นเคยกันดี น้องกระต่ายก็ปรับตัวได้พอสมควร เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะเล่นกับเขาได้ เริ่มจากเรียกชื่อน้องต่าย พร้อมกับลูบหัวลูบหลังเบา ๆ  การพูดคุยด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล หรือฮัมเพลงโปรดเบา ๆ จะช่วยให้เขารู้สึกอบอุ่นดียิ่งขึ้น          

9. หลังจากสร้างความคุ้นเคยจนลูบเนื้อลูบตัวกันได้แล้ว ก็เข้าสู่จังหวะเวลาที่เหมาะสมกับการปล่อยออกวิ่งเล่นในห้อง แต่ควรระวังสิ่งที่จะเสียหายจากการกัดแทะและสิ่งที่จะเป็นอันตรายกับน้องกระต่ายด้วย

10. ขอให้ศึกษาวิธีการเลี้ยงกระต่ายอย่างถูกต้องจาก website นี้และจากแหล่งความรู้อื่น ๆ หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม กรุณาฝากคำถามใน Web Board ของเราก็ได้ครับ

          ถ้าคุณใจเย็น และอดใจไว้ตามคำแนะนำในข้อ 2 และ ข้อ 3 ได้ น้องกระต่ายก็น่าจะเข้ากับคุณและที่ใหม่ได้ดี แต่ก็นั่นแหละ สิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดในโลก ไม่มีสูตรตายตัว จึงควรสังเกต และปรับใช้คำแนะนำนี้ ตามลักษณะเฉพาะของกระต่ายแต่ละตัวด้วย

          หวังใจว่าคุณกับน้องน้อยที่น่ารัก จะมีความสุขร่วมกันอย่างดี ถ้าได้ฤกษ์ที่เหมาะสม กรุณาถ่ายรูปน้องกระต่ายมาอวดกันบ้างนะครับ ผมกำลังคุยกะคุณเดียวว่า อาจจะมีของ(รับ)ขวัญ ให้กับน้องกระต่ายที่มาโชว์ตัวด้วย จะคืบหน้าอย่างไรกรุณาติดตามที่หน้าข่าวสารของคุณเดียวนะครับ

กระต่ายหน่อยน่ารัก