
อึพวงองุ่น และระบบย่อยอาหารของกระต่าย
เรื่องของอึพวงองุ่น เป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงกันมาก แต่เท่าที่อ่านดูก็ยังขาดในสาระสำคัญบางประการอยู่บ้าง พ่อกระต่ายจึงขอเสนอเป็นบทความไม่ยาวนักแต่ก็น่าจะครอบคลุมสิ่งที่ควรรู้เพื่อตอบแทนความปรารถนาดีของพวกเราครับ
การที่จะพูดถึงอึพวงองุ่นนั้น จำเป็นครับที่จะต้องพูดถึงระบบย่อยอาหารของกระต่ายควบคู่กันไป
กระต่าย เป็นสัตว์ใน Family Leporidae ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีฟันหน้าบน 2 คู่ (ลองตรวจฟันน้องกระต่ายดูจะพบว่า มีฟันหน้าอีกคู่หนึ่งที่ซ่อนอยู่ด้านหลังของฟันหน้าบนที่เรามองเห็น) ส่วนฟันกัดด้านล่าง มี 1คู่หรือ 2 ซี่ครับ
กระต่าย ใช้ฟันหน้าในการกัดแทะ และใฃ้ฟันกรามในการเคี้ยว ฟันกรามด้านบนของกระต่าย มีข้างละ 6 ซี่ครับ คือฟันกรามหน้าข้างละ 3 ซี่ ฟันกรามหลังข้างละ 3 ซี่ เหมือนกัน ดังนั้นฟันกรามด้านบนของกระต่ายจึงมี 12 ซี่
แต่ฟันกรามล่างนี่แปลกหน่อย คือมีแค่ ข้างละ 5 ซี่ เป็นฟันกรามหน้า 2 ซี่ ฟันกรามหลังข้างละ 2 ซี่ รวมฟันกรามล่าง 2 ข้างเป็น 10 ซี่
เรื่องของอึพวงองุ่น เป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงกันมาก แต่เท่าที่อ่านดูก็ยังขาดในสาระสำคัญบางประการอยู่บ้าง พ่อกระต่ายจึงขอเสนอเป็นบทความไม่ยาวนักแต่ก็น่าจะครอบคลุมสิ่งที่ควรรู้เพื่อตอบแทนความปรารถนาดีของพวกเราครับ
การที่จะพูดถึงอึพวงองุ่นนั้น จำเป็นครับที่จะต้องพูดถึงระบบย่อยอาหารของกระต่ายควบคู่กันไป
กระต่าย เป็นสัตว์ใน Family Leporidae ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีฟันหน้าบน 2 คู่ (ลองตรวจฟันน้องกระต่ายดูจะพบว่า มีฟันหน้าอีกคู่หนึ่งที่ซ่อนอยู่ด้านหลังของฟันหน้าบนที่เรามองเห็น) ส่วนฟันกัดด้านล่าง มี 1คู่หรือ 2 ซี่ครับ
กระต่าย ใช้ฟันหน้าในการกัดแทะ และใฃ้ฟันกรามในการเคี้ยว ฟันกรามด้านบนของกระต่าย มีข้างละ 6 ซี่ครับ คือฟันกรามหน้าข้างละ 3 ซี่ ฟันกรามหลังข้างละ 3 ซี่ เหมือนกัน ดังนั้นฟันกรามด้านบนของกระต่ายจึงมี 12 ซี่
แต่ฟันกรามล่างนี่แปลกหน่อย คือมีแค่ ข้างละ 5 ซี่ เป็นฟันกรามหน้า 2 ซี่ ฟันกรามหลังข้างละ 2 ซี่ รวมฟันกรามล่าง 2 ข้างเป็น 10 ซี่
ในขณะที่กระต่ายกัดและเคี้ยวอาหารน้ำลายของกระต่าย จะคลุกเคล้ากับอาหารและน้ำย่อยในน้ำลายก็จะทำการย่อยอาหารไปบางส่วน
จากนั้นอาหารที่ถูกบดละเอียดจะผ่านหลอดหรือท่ออาหารเข้าสู่กระเพาะ ซึ่ง เป็นพื้นที่สำหรับ กระบวนการย่อยอาหารด้วยน้ำย่อย
สารอาหารที่เกิดจากการย่อยด้วยน้ำย่อยที่กระเพาะ จะถูกส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กและผนังของลำไส้เล็กก็จะดูดซึมเอาอาหารที่ย่อยแล้วไปใช้งาน แต่ก็จะมีอาหารอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มไฟเบอร์เช่นหญ้าต่าง ๆ ที่น้ำย่อยในกระเพาะจัดการไม่ได้ ก็ไหลเลยต่อไป….ไปไหนเอ่ย...ลองตามมาแอบดูกัน

ภาพแสดงระบบการย่อยอาหารคร่าว ๆ ของกระต่ายภาพนี้ จาก www.nationalrabbitweek.co.uk/digestive ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
จุดที่เป็นปลายสุดของสำไส้เล็ก จะมาพบกับทางแยกครับ ด้านหนึ่งเป็นอวัยวะส่วนที่ใช้ย่อยอาหารกลุ่มไฟเบอร์ ที่เราได้ยินกันคุ้นหู ว่า ซีคั่ม ตำราฝรั่งเขียนไว้ 2 แบบครับ คือ Cecum และ Caecum แต่เมื่อลองสืบค้นดู คำว่า Caecum พบเยอะว่าครับ
ใน Caecum นี้ เป็นที่พำนักพักอาศัยของกลุ่มจุลชีพที่ดี จำนวนมากมายมหาศาล ประกอบด้วย แบคทีเรีย โปรโตซัวและยีสต์ ใช้ชีวิตและร่วมกันทำงานอย่างสมดุลย์
พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า Caecum เป็นอวัยวะที่กระต่ายใช้หมักอาหารไว้ให้จุลชีพจัดการย่อยให้นั่นเอง
ผลจากการทำงานของจุลชีพนี้ ก็จะได้วิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าต่อกระต่าย
เมื่อกระบวนการหมักได้ที่ (ใช้เวลาราว ๆ 8 ชั่วโมง) ร่างกายกระต่ายก็จะทะยอยผลักอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ของจุลชีพและกากใยที่เหลือจากการหมักและย่อย จาก Ceacum มาสู่สำไส้ใหญ่ สารอาหารหลายอย่าง จะถูกดูดซึมไปใช้งานผ่านผนังของลำไส้ใหญ่นี่เอง
ส่วนเศษ ๆ ที่เป็นกากอาหารจริง ๆ ก็จะผ่านลำไส้ใหญ่มาสู่ลำไส้ตรง และตรงนี้เองที่กากอาหารจะถูกบีบเป็นจังหวะ ๆ จนเกิดเป็นอึก้อนกลม ๆ และอึธรรมดาก้อนกลม ๆ นี้จะผ่านหูรูดของทวารหนักหรือรูก้นน้องต่ายออกมาเป็นอึที่เราเห็น ๆ กันเป็นปกติ
ย้อนกลับไปที่ลำไส้ใหญ่กันหน่อยนะครับ....ลำไส้ใหญ่ที่ผมเล่าว่าสารอาหารหลายอย่าง จะถูกดูดซึมไปใช้งานผ่านผนังของลำไส้ใหญ่นั่นละครับ...มันมีเรื่องพิลึกกึกกืออันเป็นที่มาของอึพวงองุ่น อยู่...น่าสนใจมากเลยละ
เรื่องพิลึก พิกล ที่ว่านี้ก็คือ ที่ผนังของลำไส้ใหญ่นี้ ไม่สามารถดูดซึมเอาสารอาหารบางชนิดและวิตามิน บี ไปใช้งานได้
เอาละสิ สารอาหารและวิตามินนี่ มันของดี ๆ ทั้งนั้นนี่ครับ จะปล่อยทิ้งไปได้อย่างไรกัน
ธรรมชาตินี่วิเศษจริง ๆ เลย ที่หาทางแก้ปัญหานี้จนได้ครับ โดยการส่งอาหารที่ผนังลำไส้ใหญ่ดูดซึมไม่ได้นั้น มาเป็นจังหวะ ๆพร้อมกับส่งสัญญาณมาให้ลำไส้ตรง ปั้นอึชุดนี้เป็นเม็ดเล็ก ๆ จนอึวิเศษนี้ผนึกติดกันเป็นพวงแล้วจึงขับออกมาทางก้น แบบที่เราเรียกกันว่าอึพวงองุ่น (แต่ฝรั่งบางตำราเขาเรียกว่า อึพวงลูกหม่อน (mulberry) ครับ...ก็ว่ากันไป
จากนั้นอาหารที่ถูกบดละเอียดจะผ่านหลอดหรือท่ออาหารเข้าสู่กระเพาะ ซึ่ง เป็นพื้นที่สำหรับ กระบวนการย่อยอาหารด้วยน้ำย่อย
สารอาหารที่เกิดจากการย่อยด้วยน้ำย่อยที่กระเพาะ จะถูกส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กและผนังของลำไส้เล็กก็จะดูดซึมเอาอาหารที่ย่อยแล้วไปใช้งาน แต่ก็จะมีอาหารอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มไฟเบอร์เช่นหญ้าต่าง ๆ ที่น้ำย่อยในกระเพาะจัดการไม่ได้ ก็ไหลเลยต่อไป….ไปไหนเอ่ย...ลองตามมาแอบดูกัน

ภาพแสดงระบบการย่อยอาหารคร่าว ๆ ของกระต่ายภาพนี้ จาก www.nationalrabbitweek.co.uk/digestive ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
จุดที่เป็นปลายสุดของสำไส้เล็ก จะมาพบกับทางแยกครับ ด้านหนึ่งเป็นอวัยวะส่วนที่ใช้ย่อยอาหารกลุ่มไฟเบอร์ ที่เราได้ยินกันคุ้นหู ว่า ซีคั่ม ตำราฝรั่งเขียนไว้ 2 แบบครับ คือ Cecum และ Caecum แต่เมื่อลองสืบค้นดู คำว่า Caecum พบเยอะว่าครับ
ใน Caecum นี้ เป็นที่พำนักพักอาศัยของกลุ่มจุลชีพที่ดี จำนวนมากมายมหาศาล ประกอบด้วย แบคทีเรีย โปรโตซัวและยีสต์ ใช้ชีวิตและร่วมกันทำงานอย่างสมดุลย์
พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า Caecum เป็นอวัยวะที่กระต่ายใช้หมักอาหารไว้ให้จุลชีพจัดการย่อยให้นั่นเอง
ผลจากการทำงานของจุลชีพนี้ ก็จะได้วิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าต่อกระต่าย
เมื่อกระบวนการหมักได้ที่ (ใช้เวลาราว ๆ 8 ชั่วโมง) ร่างกายกระต่ายก็จะทะยอยผลักอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ของจุลชีพและกากใยที่เหลือจากการหมักและย่อย จาก Ceacum มาสู่สำไส้ใหญ่ สารอาหารหลายอย่าง จะถูกดูดซึมไปใช้งานผ่านผนังของลำไส้ใหญ่นี่เอง
ส่วนเศษ ๆ ที่เป็นกากอาหารจริง ๆ ก็จะผ่านลำไส้ใหญ่มาสู่ลำไส้ตรง และตรงนี้เองที่กากอาหารจะถูกบีบเป็นจังหวะ ๆ จนเกิดเป็นอึก้อนกลม ๆ และอึธรรมดาก้อนกลม ๆ นี้จะผ่านหูรูดของทวารหนักหรือรูก้นน้องต่ายออกมาเป็นอึที่เราเห็น ๆ กันเป็นปกติ
ย้อนกลับไปที่ลำไส้ใหญ่กันหน่อยนะครับ....ลำไส้ใหญ่ที่ผมเล่าว่าสารอาหารหลายอย่าง จะถูกดูดซึมไปใช้งานผ่านผนังของลำไส้ใหญ่นั่นละครับ...มันมีเรื่องพิลึกกึกกืออันเป็นที่มาของอึพวงองุ่น อยู่...น่าสนใจมากเลยละ
เรื่องพิลึก พิกล ที่ว่านี้ก็คือ ที่ผนังของลำไส้ใหญ่นี้ ไม่สามารถดูดซึมเอาสารอาหารบางชนิดและวิตามิน บี ไปใช้งานได้
เอาละสิ สารอาหารและวิตามินนี่ มันของดี ๆ ทั้งนั้นนี่ครับ จะปล่อยทิ้งไปได้อย่างไรกัน
ธรรมชาตินี่วิเศษจริง ๆ เลย ที่หาทางแก้ปัญหานี้จนได้ครับ โดยการส่งอาหารที่ผนังลำไส้ใหญ่ดูดซึมไม่ได้นั้น มาเป็นจังหวะ ๆพร้อมกับส่งสัญญาณมาให้ลำไส้ตรง ปั้นอึชุดนี้เป็นเม็ดเล็ก ๆ จนอึวิเศษนี้ผนึกติดกันเป็นพวงแล้วจึงขับออกมาทางก้น แบบที่เราเรียกกันว่าอึพวงองุ่น (แต่ฝรั่งบางตำราเขาเรียกว่า อึพวงลูกหม่อน (mulberry) ครับ...ก็ว่ากันไป

อึพวงองุ่น (ขวา)เมื่อเทียบกับอึธรรมดา(ซ้าย)
ในอึพวงองุ่น นี้ นอกจากจะมีสารอาหารดี ๆ และวิตามินจำนวนมากแล้ว ยังมีจุลชีพแสนดีที่แตกลูกแตกหลานอยู่ใน Caecum แทรกปนอยู่จำนวนมหาศาลอีกด้วย
เมื่อกระต่ายปล่อย อึพวงองุ่นออกมา ปกติแล้วกระต่ายจะก้มลงกินอึพวงองุ่นจากก้นของตัวเองเลยเว้นแต่บางตัวอ้วนจนก้มไม่ลง ก็อาจอึออกมาที่พื้นแล้วค่อยกิน
อึพวงองุ่นที่กระต่ายกินกลับเข้าไปก็จะเข้าสู่กระเพาะและเลยไปที่ลำไล้เล็ก.....ตรงนี้เองที่บรรดาอาหารดี ๆ และวิตามินที่สำไส้ใหญ่ดูดซึมไม่ได้ ก็จะซึมเข้าผนังลำไส้เล็กแทนครับ....เยี่ยมไหมล่ะ
แต่ยังมีที่วิเศษกว่านั้นอีกครับ....
ในกระเพาะอาหารนั้น น้ำย่อยมีฤทธิในการกัดรุนแรงอยู่ จุลชีพที่แสนดีของกระต่ายในอึพวงองุ่น เมื่อกลับเข้าสู่กระเพาะ น่าจะตายหมด...แต่ธรรมชาติเขาหาทางป้องกันไว้เรียบร้อยแล้วครับ โดยการสร้างเมือกชนิดหนึ่งมาหุ้มเม็ดอึพวงองุ่นไว้ สารเมือกนี้ มีคุณสมบัติในการป้องกันการกัดทำลายของน้ำย่อยได้นานถึง 4 ชั่วโมง ซึ่งนานพอที่อึพวงองุ่นจะผ่านกระเพาะและลำไส้เล็กมาสู่ มาตุภูมิเดิม คือ Caecum ได้อย่างสบาย ๆ
หากอาหารที่เราให้น้องต่าย มีปริมาณพอเหมาะ คืออาหารเม็ดพอควร หญ้าแห้งหญ้าสดและผักพอดี เราจะไม่เห็นอึพวงองุ่นเหลือหล่นอยู่ตามพื้นกรง หรือจะมีก็แค่ 1-2 พวง
หากคุณพบว่ากระต่ายของคุณผลิต อึพวงองุ่น จนเหลือใช้กองทิ้งเป็นจำนวนมาก ก็ขอให้ทราบเลยว่า คุณให้อาหารเม็ดมากเกินไปแล้ว เพลา ๆ ลงหน่อยก็จะดีครับ
ความจริงมีเรื่องความมหัศจรรย์ของกระเพาะกระต่ายที่อยากจะเล่าอีกเรื่องหนึ่งด้วย แต่มีคนบ่นว่า ผมเขียนอะไรยาวเกินไป ขี้เกียจอ่าน .... งั้นเรื่องของอึพวงองุ่นก็ ผมจึงขอเสนอในส่วนที่ควรรู้แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอ